![]() |
การเตือนภัยโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระดับน้ำ ![]() |
เมื่อระดับน้ำ ณ สถานี P.67 บ้านแม่แต อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 32 กม. ขึ้นสูงถึง 4.00 เมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 420 ลบ.เมตร/วินาที จะมีผลทำให้ระดับน้ำที่ สถานี P.1 ที่สะพานนวรัฐในตัวเมืองเชียงใหม่สูงตามขึ้นไปที่ระดับ 3.70 เมตร(ระดับเต็มตลิ่ง) ปริมาณน้ำไหลผ่าน 440 ลบ.เมตร/วินาที ในเวลา 6-7 ชั่วโมง ถัดมา หากระดับน้ำของทั้งสองสถานียังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งขึ้นท่วมในบริเวณที่ลุ่มต่ำของตัวเมืองเชียงใหม่และแผ่ออกไปเป็นบริเวณกว้างตามลำดับ ดังนั้นหลังระดับน้ำที่ สถานี P.67 ขึ้นสูงสุดแล้ว คาดการณ์ได้ว่าอีก 6-7 ชั่วโมง ก็จะเกิดน้ำสูงสุดที่ สถานี P.1 ทำให้สามารถระบุพื้นที่น้ำท่วมพอสังเขปและสามารถเตือนภัยในพื้นที่ดังกล่าวได้ |
ช่วงเวลาและสาเหตุ ของการเกิดอุทกภัย |
![]() |
โดยทั่วไป อุทกภัยในภาคเหนือทั้งน้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันเนื่องจากอิทธิพลของลมมรสุม พายุหมุนเขตร้อน และร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านภูมิภาคนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ มีต้นกำเนิดอยู่ในเขตเทือกเขาของอำเภอเชียงดาว ความยาวลำน้ำจากต้นกำเนิดถึงตัวเมือง 190 กม. พื้นที่รับน้ำเหนือตัวเมือง 6,355 ตร.กม. ลำน้ำสาขาสำคัญคือน้ำแม่แตง จาก อ.เวียงแหง น้ำแม่ริม จาก อ.แม่ริมและน้ำแม่งัด จาก อ.พร้าว(มีเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล กั้นในเขต อ.แม่แตง) เมื่อเกิดฝนตกหนักติดต่อกันยาวนานในพื้นที่ต้นน้ำจะเป็นผลให้ระดับน้ำและปริมาณน้ำในลำน้ำแม่ปิงสะสมตัวเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดล้นตลิ่งและไหลเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำใกล้เคียง เกิดอุทกภัยสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและทรัพย์สินขึ้นได้ โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ จะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำเพิ่มสูงเกินความจุของลำน้ำ(ความจุของลำน้ำปิงที่ตัวเมืองเชียงใหม่ คือ 440 ลบ.เมตร/วินาที และระดับวิกฤติที่น้ำจะเริ่มล้นฝั่งขึ้นท่วมอยู่ที่ 3.70 เมตร ณ สถานี P.1 ที่สะพานนวรัฐ |
|
จัดทำโดย ![]() ![]() |
เตือนภัยน้ำท่วม ![]() |
![]() |
|
![]() |
![]() |