สนามอุตุนิยมวิทยา มีขนาด กว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร (หรือ กว้าง 20 ฟุต ยาว 30 ฟุต) |
|
|
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจอากาศผิวพื้น-การบินและชั้นบนแบบทั่วไป |
เตรื่องมือตรวจอากาศผิวพื้น
|
บาโรมิเมตร (Barometer) |
เครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศคือ " บาโรมิเตอร์ " (Barometer)
แบ่งออกเป็น
บาโรมิเตอร์แบบปรอท (Mercury Barometer) เป็นบาโรมิเตอร์มาตราฐานที่ใช้กันอยู่ทั่วไปแบ่งออกเป็น
บาโรมิเตอร์แบบคิว (Kew Barometer) เป็นแบบที่กะปุกปรอทติดแน่นตายตัวอยู่กับลำหลอดแก้ว ไม่สามารถปรับแต่งระดับปรอทได้ จะแบ่งออกเป็นแบบใช้บนบกคือแบบ Kew Station และแบบที่ใช้ในทะเล Kew Marine
บาโรมิเตอร์แบบฟอร์ติน (Fortin Barometer) เป็นแบบสามารถปรับแต่งระดับปรอทให้ผิวหน้ามาสัมผัสกับเข็มงาช้าง (ivory pointer) พอดี
บาโรมิเตอร์แบบแอนเนอรอยด์ (Aneroid Barometer) เป็นบาโรมิเตอร์แบบเคลื่อนไหวสะดวกและพกพาได้อย่างสบาย เนื่องจากมีลักษณะเป็นกะปุกลูกฟูก เพราะภายในเป็นสูญญากาศ ไม่ใช่ปรอท
บาโรกราฟ เป็นเครื่องวัดความกดอากาศอีกแบบหนึ่ง ที่เหมือนกับแบบแอนเนอรอยด์ แต่ใช้ถึง 6 -10 ตลับลูกฟูก เพื่อความถูกต้องและผิดพลาดน้อยที่สุด และสามารถบันทึกได้หลายๆวัน
|
การวัดความกดนั้นจะวัดลงหาระดับน้ำทะเล เป็นค่ามาตราฐานซึ่งแต่ละที่จะไม่เท่ากัน แล้วแต่ภูมิประเทศ เรียกว่า
" ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง " (Mean Sea Level)
หน่วยที่ใช้วัดความกดอากาศ คือ นิ้วปรอท มิลลิเมตร และมิลลิบาร์หรือ hPa (เรียกตามชื่อผู้ค้นพบคนแรก)
|
แบบฟอร์ติน |
แบบคิว |
|
|
|
|
|
เธอร์โมมิเตอร์สูงสุด (Maximum Thermometer)
เป็นแบบปรอทใช้วัดอุณภูมิสูงที่สุดประจำวัน ตัวเธอร์โมมิเตอร์ จะมีคอตีบด้านใต้สเกลล่างสุด เมื่ออุณหภูมิลดลงปรอทจะไม่สามารถไหลย้อนกลับ และต้องวางตัวเธอร์โมมิเตอร์ ให้ทางตุ้มปรอทอยู่ต่ำกว่าปลายเล็กน้อย เพื่อกันลำปรอทไหลกลับ เนื่องจากการสั่นสะเทือน เพื่อที่จะวัดให้ได้ค่า อุณหภูมิสูงที่สุดประจำวันจริงๆ
เธอร์โมมิเตอร์ต่ำสุด (Minimum Thermometer)
ใช้วัดอุณภูมิต่ำที่สุดประจำวัน เป็นแบบวัตถุเหลวภายใน เช่นพวกแอลกอฮอร์ หรือ น้ำมันใส โดยมีก้านชี้ (Index) อยู่ภายใน เมื่ออุณหภูมิต่ำลงแอลกอฮอร์จะดูดผิวก้านชี้ลงไปด้วย แต่ถ้าอุณหภูมิสูงสุดแอลกอฮอร์จะไหลผ่านก้านชี้ไปได้ ลักษณะการวางตัวเธอร์โมมิเตอร์ จะวางให้อยู่ในระดับแนวนอนจริงๆ
|
|
|
เธอร์โมมิเตอร์ต่ำสุดยอดหญ้า (Grass minimum Thermometer)
หรือเธอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดเรดิเอชั่นของพื้นโลก (Terrestrial radiation Thermometer) เป็นเธอร์โมมิเตอร์ต่ำสุดธรรมดานี่เอง ใช้วัดอุณหภูมิที่เกิดจากการแผ่รังสีความร้อน จากตุ้มของๆเหลวภายในกะปุกของเหลว ไปสู่ท้องฟ้า เพื่อทราบเกล็ดน้ำค้าง (Ground Frosts) ในเวลากลางคืน " ไม่ใช่วัดอุณหภูมิของอากาศ " โดยจะวางให้เป็นแนวนอนบนพื้นหญ้าสั้นให้สัมผัสยอดหญ้าพอดี |
|
|
เธอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดเรดิเอชั่นจากดวงอาทิตย์ (Actinometer)
ใช้วัดค่าความแรงของเรดิเอชั่นจากดวงอาทิตย์ ซึ่งบรรลุสู่ผิวโลกในวันหนึ่งๆ โดยใช้เธอร์โมมิเตอร์แบบ
เธอร์โมมิเตอร์ตุ้มดำ ใช้เขม่าไฟสีดำอาบเคลือบไว้รอบๆกะปุกปรอทให้ล้ำขึ้นมาทางหลอดแก้ว 1 นิ้ว ซึ่งสีดำจะดูดความร้อนได้ดีที่สุด
เธอร์โมมิเตอร์ตุ้มขาว วางไว้เฉยๆ โดยมีแก้วหุ้มตัวเธอร์โมมิเตอร์อีกชั้นหนึ่ง โดยสีขาวจะสะท้อนความร้อนออกได้ดี
นำค่าของตุ้มดำและตุ้มขาวมาหาค่าผลเฉลี่ยเรดิเอชั่นจากดวงอาทิตย์ที่บรรลุสู่ผิวโลก
|
|
|
เครื่องมือวัดอุณภูมิและความชื้นสัมพัทธิ์หรือเครื่องเธอร์โมไฮโกรกราฟ (Thermo-Hygrograph)
เป็นเครื่องมือที่อาศัยหลักความจริงที่ว่า เส้นผมมนุษย์เมื่อล้างไขมันออกแล้วจะยืด และหดไปตามการเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศ โดยความชื้นสูงเส้นผมจะยืดตัวออก ขณะเดียวกันถ้าความชื้นน้อยเส้นผมก็จะหดตัวเข้าหากัน ซึ่งอุณหภูมิจะผกผันกับความชื้นในอากาศ คือความชื้นสูงอุณหภูมิจะต่ำในทางตรงกันข้าม ความชื้นต่ำอุณหภูมิจะสูง |
|
|
|
|
เธอร์โมมิเตอร์ใต้ดิน (Soil Thermometers)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดวัดอุณหภูมิใต้ดินที่ความลึกระดับ 5 ,10 ,20 ,50 และ 100 ซม. เพื่อศีกษาการเจริญเติบโตทางรากของพืชในระดับต่างๆ(ความยาวของรากพืช) โดยที่ความลึกระดับ 5 ,10 ,20 ซม. ตัวเรือนเธอร์โมมิเตอร์จะงอเป็นมุมฉาก ขีดเสกลของเครื่องจะอยู่ด้านบน เพื่อสะดวกในการอ่าน สำหรับที่ระดับ 50 และ 100 ซม. ตัวเธอร์โมมิเตอร์จะอยู่ในท่อเหล็กบางๆฝังลงไปในดิน โดยจะมีปลอกแก้วหุ้มอีกชั้นหนึ่ง และตุ้มปรอทจะเคลือบด้วขี้ผึ้งพาราฟิน เพื่อป้องกันไม่ให้เธอร์โมมิเตอร์ขยับเขยื่อนจากท่อ
|
0 และ 5 ซม. |
10 และ 20 ซม. |
50 , 100 ซม. |
|
|
|
ไซโครมิเตอร์ บันไดไมโครไดลเมท
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดวัดอุณหภูมิและความชื้นในระดับต่างๆ มี 7 ระดับ ได้แก่ 5 ,10 ,20 ,50 ,100 ,200 และ 400 ซม. เพื่อศึกษาการคายน้ำและการเก็บความชิ้นของลำต้นและใบพืชในระดับต่างๆ
|
|
|
ปัจจุบันศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือเลิกใช้งานแล้ว |
เครื่องวัดฝน (Raingaugea)
เครื่องวัดฝนแบบจดบันทึก (Rainfall Recorders)
ใช้ลักษณะของไซฟอน (Natural Siphon Gauge or Float Type) ดูดน้ำให้ไหลอกจากถังลูกลอยในเมื่อฝนตกลงมาจนเต็มถัง จะทำให้อากาศถูกดันน้ำออกมาทางท่อด้านล่าง และเมื่อน้ำไหลลงออกจากถัง ลูกลอยหมด อากาศก็จะไหลเข้ามาแทนที่ทำให้อาการไซฟอนหยุดโดยทันที
|
|
|
|
เครื่องวัดฝนแบบแก้วตวง
เป็นที่นิยมกันแพร่หลาย รูปร่างเป็นรูปทรงกระบอกกลมตลอด หรือบางทีทำให้ก้นผายออกเพื่อให้ตั้งได้มั่นคงขึ้น ตัวเครื่องทำด้วยเหล็ก หรือทองแดงที่ไม่เป็นสนิม ตอนขอบบนของเครื่องทำเป็นปากรับน้ำหนักฝนขนาดแน่นอน (นิยมใช้ปากถังขนาด 8 นิ้ว) ที่ขอบปากถังต้องทำให้หนาเป็นพิเศษกันบุบเบี้ยวหรือเสียรูปทรง ติดตั้งไว้บนพื้นดินเรียบและสูงจากพื้นดินไม่เกิน 1 เมตร ห้ามติดตั้งไว้ที่ลาดชัน |
|
|
เครื่องวัดฝนแบบชั่งน้ำหนัก (Weighing Type)
เป็นแบบที่ใช้อาการของน้ำหนักของถังรองรับน้ำรวมกับน้ำหนักของฝนที่ตกลงมา ไปกระทำต่ออาการกลไกของสปริง หรือโดยระบบสมดุลย์ของน้ำหนัก เครื่องนี้จะไม่มีระบบระบายน้ำออกเองเมื่อน้ำฝนเต็มถังแต่กลไก สามารถบันทึกทั้งทางขึ้นทางลงได้ 4 ครั้ง จนกว่าจะถึงขีดสูงสุดของการรายงาน
เครื่องนี้ออกแบบเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำให้ลดน้อยลง โดยการเติมน้ำมันพอสมควรลงไปในถังรองรับน้ำฝน เพื่อให้เป็นผ้าหนา 1 มิลลิเเมตรเคลือบผิวหน้าน้ำฝนไว้
หน่วยวัดน้ำฝน มีหน่วยเป็น มิลลิเมตร
ปัจจุบันศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือเลิกใช้งานแล้ว
|
|
เครื่องวัดความเร็วลมและทิศทางลม
เครื่องวัดทิศทางลมแบบศรลม (Wind Vanes)
เครื่องวัดความเร็วลม (Wind Speed Measurement)
หน่วยวัดความเร็วลมเป็น นอต (KT), เมตรต่อวินาที , กิโลเมตรต่อชั่วโมง , ไมล์ต่อชั่วโมง และฟุตต่อวินาที
สำหรับประเทศไทยจะใช้เป็น นอต และ กิโลเมตรต่อชั่วโมง |
|
|
|
|
เครื่องมือแบบอัตโนมัติ (Automatic Weather Observation System : AWOS)
|
|
|
|
เครื่องมือแบบอัตโนมัติ (Automatic Weather Observation System : AWOS)
ใช้ในการตรวจอากาศเพื่อการบิน ทำให้เครื่องบินพานิชย์ เครื่องบินทหารและเครื่องบินพลเรือนทุกๆลำ สามารถขึ้น - ลง ณ ท่าอากาศยานด้วยความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และเตือนภัยต่างๆได้ทันต่อเหตุการณ์ โดยเครื่องบินสามารถหลีกเลี่ยงที่จะบินเข้าไปในลักษณะอากาศที่เลวร้าย ขณะที่บินอยู่ในเส้นทางการบิน ช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งอากาศยานซึ่งมีมูลค่ามากมายมหาศาล และเป็นไปตามกฏขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)
เครื่องวัดค่า RVR |
|
|
เครื่องมือการตรวจอากาศอัตโนมัติแบบพกพา
|
|
เครื่องตรวจอากาศแบบพกพา
เป็นเครื่องตรวอากาศแบบอัตโนมัติชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถนำไปติดตั้งในสถานที่ต่างๆได้อย่างสะดวก และสามารถติดตั้งได้ทุกสภาพภูมิประเทศ ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน โดยใช้ระบบเซนเซอร์ต่อเชื่อเข้ากับเครื่อง สามารถอ่านค่าต่างๆที่ทำการตรวจได้จากจอเครื่องตรวจอากาศแบบพกพา และจอทั้งคอมพิวเตอร์ พร้อมบันทึกข้อมูลลงไปในนั้น ทำให้สามารถดึงข้อมูลต่างๆออกมาใช้วิเคระห์ได้ภายหลัง
|
|
|
|
เครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน
|
|
|
|
เครื่องวัดสัญญานวิทยุหยั่งอากาศ |
จานรับสัญญาน |
วิทยุหยั่งอากาศ |
เครื่องมือตรวจอากาศชั้นบน (Radiosonde) ด้วยระบบ Vaisala
เป็นเครื่องมือตรวจอากาศชั้นบนระบบอัตโนมัติ ที่สามารถตรวจวัดข้อมูลได้ตั้งแต่ระดับผิวพื้น ไปจนถึงชั้นบรรยากาศสูงๆ ( อาจตรวจได้สูงถึง 30 กว่ากิโลเมตรขึ้นไป ) ข้อมูลที่สามารถตรวจได้ ประกอบด้วย ความกดอากาศ ความสูง อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วและทิศทางลม ในระดับมาตราฐาน เช่น 850,700,500,400 มิลลิบาร์ รวมทั้งระดับ 2000,3000,..... ฟิต ฯลฯ และระดับแทรกต่างๆ โดยใช้ระบบจานสัญญานอากาศ รับสัญญาน จากเครื่องหยั่งอากาศที่ติดไปกับบอลลูน ส่งข้อมูลลงมายังคอมพิวเตอร์หรือภาครับทางภาคพื้นดิน
|
|
|
|
เครื่องตรวจอากาศชั้นบนด้วยไพล๊อบอลลูนโดยใช้กล้องธีโอโดไลท์
จะตรวจได้เฉพาะทิศทางและความเร็วลมเหมือนกับตรวจด้วยวิทยุหยั่งอากาศ ด้วยเรวินด์ แต่ความสูงจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะอากาศ ถ้าอากาศแจ่มใส ก็สามารถตรวจได้สูงมากๆใช้เวลาในการตรวจอาจจะถึง 1 ชั่วโมง แต่ถ้ามีลักษณะอากาศไม่ดีเช่นมีฟ้าหรัวชื้นหรือแห้ง หรือถ้ามีเมฆต่ำมาก ก็ไม่สามารถตรวจได้ความสูงที่สูงๆ ถ้าตรวจเวลากลางคืนจะใช้เวลาประมาณ 10 - 15 นาที ซึ่งก็แล้วแต่ลักษณะอากาศด้วยเหมือนกัน |
|
|
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจอากาศชั้นบน
บอลลูน ขนาดต่างๆ เช่น 600,300,100, 30 กรัม ขนาดบรรจุแล้วแต่ขนาด บอลลูน เช่น อัดขนาด 2500,2000,1500......ฯลฯ กรัมเป็นต้น
แก๊สไฮโดรเจนบริสุทธิ์ ซึ่งเบากว่าอากาศและติดไฟได้
วิทยุหยั่งอากาศ |
|