DSCF9598.JPG

DSCF9600.JPG

DSCF9602.JPG

DSCF9606.JPG

DSCF9685.JPG

DSCF9633.JPG

DSCF9661.JPG

DSCF9682.JPG

DSCF9663.JPG

DSCF9693.JPG

DSCF9688.JPG

DSCF9699.JPG

การประชุมชุมชนนักปฏิบัติศูนย์อุตุนิยมวิทยา ครั้งที่ 2

วันที่ 2 มีนาคม 2555

ณ ห้องประชุมศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ

การพยากรณ์อากาศ

คำอธิบาย: wmo1

 

·      เครื่องมือที่ใช้ประกอบในการพยากรณ์อากาศ

      - แผนที่ผิวพื้น

      - แผนที่ลมชั้นบน

      - ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศ

      - ข้อมูลดาวเทียมตรวจอากาศ

      - แผนที่ประกอบอื่นๆ เช่น แผนที่แสดงความกดอากาศ(อุณหภูมิ)

         เปลี่ยนแปลง แผนที่การผลการหยั่งอากาศชั้นบน

 

โดย  นายจรูญ เลาหเลิศชัย
ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ

แผนที่อากาศผิวพื้น

 

แผนที่ลมชั้นบน

 

 

 

 

ข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศและดาวเทียม

คำอธิบาย: indo15d

 

 

คำอธิบาย: Radar

 

คำอธิบาย: Radar

 

คำอธิบาย: Radar

 

แผนที่ประกอบอื่นๆ เช่น แผนที่แสดงความกดอากาศ(อุณหภูมิ)เปลี่ยนแปลง

แผนที่ผลการหยั่งอากาศชั้นบน

 

 

 

 

 

คำอธิบาย: The image “http://ess.geology.ufl.edu/ess/Notes/AtmosphericCirculation/high_lowcells.jpeg” cannot be displayed, because it contains errors.

 

คำอธิบาย: Ideal

 

งานตรวจอากาศผิวพื้น

          1)  ทำการตรวจสารประกอบอุตุนิยมวิทยาทุกๆ 3 ชั่วโมง ตามกำหนดเวลามาตรฐานของการตรวจ เป็นเวลาที่ได้ตกลงกันแล้วระหว่างนานาชาติตามมติของ WMO (World meteorological Organization)  เวลามาตรฐาน(Standard Time Observation) คือ เวลามาตรฐานโลกตามนาฬิกาที่กรีนิช ในอังกฤษ Greenwich Mean Time(GMT) หรือ Zulu Time(Z) หรือ Coordinated Universal Time(UTC)

          สารประกอบอุตุนิยมวิทยาที่ทำการตรวจและรายงาน

          a. ความกดอากาศ  (Hecto Pascals)

          b. อุณหภูมิอากาศ (องศาเซลเซียส) รวมทั้งอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุด

          c. ความชื้นสัมพัทธิ์ (เปอร์เซ็นต์)

          d. ลม (ทิศทางและความเร็วลม เป็นองศาและนอต)

          e. เมฆ (จำนวน และความสูงเป็นฟิต)

          f. ทัศนวิสัย (เมตร ,กิโลเมตร)

          g. ปริมาณน้ำฝน (ของเหลวในรูปของฝน ของแข็งในรูปของลูกเห็บ หิมะ) เป็นมิลลิเมตร

          h. ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (ฟ้าร้อง ฟ้าแลบ ฟ้าคะนอง ฟ้าหลัว หมอก ควัน พายุฝุ่น ฯลฯ)

          2)  บันทึกผลการตรวจและเข้ารหัส Synoptic ด้วยระบบ CDMS

งานตรวจอากาศการบิน

1)  ทำการตรวจสารประกอบอุตุนิยมวิทยาทุกๆ 30 นาที(METAR) และเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เข้าหลักการการตรวจพิเศษ(SPECI) ตามกำหนดเวลามาตรฐานของการตรวจ เป็นเวลาที่ได้ตกลงกันแล้วระหว่างนานาชาติตามมติของ WMO และ ICAO

สารประกอบอุตุนิยมวิทยาที่ทำการตรวจและรายงาน

a. ความกดอากาศ  (Hecto Pascals ,InHg)

b. อุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิจุดน้ำค้าง

c. ทัศนวิสัย รายงานทั้งทัศนวิสัยต่ำสุด-สูงสุด(โดยที่ต้องกำหนดทิศด้วย) ทัศนวิสัยทั่วไป ทัศนวิสัยทางแนวตั้ง รวมทั้งต้องรายงานค่า RVR (Runway Visual Range) เมื่อเข้าหลักเกณฑ์

d. ทิศทางและความเร็วลม พร้อมทั้งรายงานลมสูงสุด และลมผันแปร ที่เกิดขึ้นด้วย

e. เมฆ รายงานเป็น layer ได้ถึง 4 layer

f. ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ รายงานได้ถึง 3 ชนิดที่แตกต่างกัน

2)  บันทึกผลการตรวจและเข้ารหัส METAR/SPECI ส่งผ่านระบบ AFTN

โดย  นายนิพจน์ วิชาจารย์

พอต.ชง.

 

ความหมายของ COP

            COP ย่อมาจาก Community of Practice ซึ่งหมายถึง ชุมชนนักปฏิบัติ หรือ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ความสนใจในเรื่องเดียวกัน มาร่วมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน เรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ ร่วมกัน เพื่อได้มาซึ่ง Knowledge Assets : KA หรือ ขุมความรู้ ในเรื่องนั้นๆ สำหรับคนในชุมชนเพื่อไปทดลองใช้ แล้วนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก อันส่งผลให้ความรู้นั้นๆ ถูกยกระดับขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการปฏิบัติ ประยุกต์และปรับใช้ตามแต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่หลากหลาย อันทำให้งานบรรลุผลดีขึ้นเรื่อยๆ

            COP เป็น 1 ในเครื่องมือของการจัดการความรู้ (KM Tools) ประเภท Non-Technical Tools สำหรับการดึงความรู้ประเภท Tacit Knowledge หรือความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล ซึ่งซ่อนเร้นอยู่ภายใน

                ลักษณะที่สำคัญของ COP

กลุ่มคนที่รวมตัวกันโดยมีความสนใจและความปรารถนา (Passion) ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (มี Knowledge Domain) ปฏิสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่ม เป็นชุมชน (Community) ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการแลก เปลี่ยนและพัฒนาความรู้ร่วมกัน ต้อง Practice และสร้างฐานข้อมูล ความรู้ หรือแนวปฏิบัติ

 

ประโยชน์ของ COP ระยะสั้น

ระยะยาว

1. เวทีของการแก้ปัญหา ระดมสมอง

2. ได้แนวคิดที่หลากหลายจากกลุ่ม

3. ได้ข้อมูลมากขึ้นในการตัดสินใจ

4. หาทางออก / คำตอบที่รวดเร็ว

5. ลดระยะเวลา และการลงทุน

6. เกิดความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงาน

7. ช่องทางในการเข้าหาผู้เชี่ยวชาญ

8. ความมั่นใจในการเข้าถึงและแก้ปัญหา

9. ความผูกพันในกรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม

10. ความสนุกที่ได้อยู่กับเพื่อนร่วมงาน

11. ได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างคล้ายกัน รวม

ทั้งอาจกำลังเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เมื่อได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์จะทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหา

1. เสริมสร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขององค์กร

2. เกิดความสามารถที่ไม่คาดการณ์ไว้

3. วิเคราะห์ความแตกต่างและตั้งเป้าหมายการปรับ

ปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. แหล่งรวบรวมและเผยแพร่วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

5. เกิดโอกาสพัฒนาองค์กรอย่างก้าวกระโดด

6. เครือข่ายของกลุ่มวิชาชีพ

7. มีชื่อเสียงในวิชาชีพเพิ่มขึ้น

8. ได้รับผลตอบแทนจากการจ้างงานสูงขึ้น

9. รักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรได้

10. เพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ภาย

ในองค์กร

11. ขับเคลื่อนให้องค์กรบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์

 

 

ลักษณะการทำ COP

1. แบบกลุ่มเล็ก และกลุ่มใหญ่

2. แบบเป็นทางการ (Public) - เปิดเผย และไม่เป็นทางการ (Private) - ส่วนตัว

3. แบบบนลงล่าง (Top Down) และรากหญ้า (Grass Root)

4. แบบแยกฝ่าย และคละฝ่าย

5. แบบคนในองค์กร-คนในองค์กร และคนในองค์กร-คนนอกองค์กร

6. แบบระหว่างคน-คน และระหว่างคน-สื่อ-คน

ประเภทของ COP

Helping Communities เพื่อแก้ปัญหาประจำวันและแลกเปลี่ยนแนวคิดในกลุ่มสมาชิก

Best Practice Communities เน้นการพัฒนา ตรวจสอบและเผยแพร่แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ

Knowledge-stewareding Communities เพื่อจัดระเบียบ ยกระดับ และพัฒนาความรู้ที่สมาชิกใช้เป็นประจำ

Innovation Communities เพื่อพัฒนาแนวคิดโดยเน้นการข้ามขอบเขต เพื่อผสมผสานสมาชิกที่มุมมองต่างกัน

 

การทำ COP ให้บรรลุเป้าหมายของ KM

เป้าหมายของ KM : Knowledge Management หรือการจัดการความรู้ คือ ดึงความรู้ในตัวบุคคลในรูปของ Tacit Knowledge ออกมาจัดเก็บให้กลายเป็นความรู้ที่ปรากฎชัดแจ้ง หรือ Explicit Knowledge เพื่อสร้าง Best Practices หรือวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ สำหรับให้บุคคลอื่นสามารถนำไปทดลองใช้ และต่อยอดยกระดับความรู้นั้นขึ้นเรื่อยๆ

 

ข้อควรระวังในการทำ COP

1. การทำ COP ครั้งแรกมีความสำคัญต่อความสำเร็จของการทำ KM ดังนั้นต้องแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของ COP

ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนางานหรือวิธีการทำงาน สร้างมากพัฒนาวิธีการที่มีดีกว่าวิธีการทำงานแบบเดิม

2. การทำ COP เป็นกิจกรรมรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์การทำงานซึ่งกันและกัน เป็นการสื่อ สารสองทาง เป็นการบอกเล่าแบ่งปันเรื่องราวความสำเร็จ ประสบการณ์ วิธีการทำงานของผู้ปฏิบัติงานซึ่งกันและ กัน ดังนั้น ผู้ดำเนินกิจกรรม COP หรือ คุณอำนวย (Knowledge Facilitator) ต้องมีบทบาทเป็นผู้เอื้ออำนวยให้ เกิดการเรียนรู้ ช่วยเหลือด้านเทคนิคเกี่ยวกับความรู้ เรื่องที่ตั้ง ประสานงานกับส่วนต่าง ๆ ประเมินผล และสื่อสารความสำเร็จของการทำ COP โดยมีเลขานุการหรือคุณลิขิต (Note Taker, Community historian, Knowledge banker, Secretary) ช่วยบันทึกสรุปย่อเรื่องเล่าทุกเรื่องที่ คุณกิจ (Knowledge Practitioners) หรือสมาชิกทุกๆ

คนในกลุ่มเล่า และจัดทำเป็นฐานข้อมูลความรู้ที่ได้จากลุ่ม อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ในองค์กรจะเดินไม่ได้หากปราศจากการสนับสนุนทรัพยากร ให้ทิศทาง แนวคิด สร้างแรงจูงใจ สร้างการยอมรับ สื่อสารจากคุณเอื้อให้ (Sponsor หรือ Leader)

. การทำ COP ควรเป็น COP ที่ยั่งยืนและให้ผลถาวร ควรทำให้เป็นวิถีชีวิตการทำงานตามปกติอย่างหนึ่ง หรือกลายเป็นวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่ทุกคนได้ถือ

ปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรนั้นเข้าถึงแก่นแท้หรือจิตวิญญาณที่แท้จริงของ

 

การจัดการความรู้ (Knowledge Management )

 

ความรู้เพิ่มเติม

เครื่องมือที่ใช้สำหรับการจัดการความรู้ (KM Tools)

• Technical Tools

 

* CommonKADS เป็นรูปแบบระเบียบแบบแผนกรอบการทำงานสำหรับการวิเคราะห์รายละเอียดของ งานและกระบวนการการจัดการความรู้ กำหนดกฎสำหรับการแสดง การสร้าง และการเปลี่ยนรูปความรู้ที่ได้มา

* Ontology เป็นวิธีกำหนดการนำเสนอรายละเอียดของความคิดและความสัมพันธ์ขององค์ความรู้เพื่อทำ ให้องค์ความรู้สามารถแบ่งปันและนำกลับมาใช้ใหม่ได้

* Intranet, Web เป็นระบบบนระบบเครือข่ายสื่อสารที่รองรับสำหรับการจัดเก็บองค์ความรู้ต่างๆ ที่ทำ ให้เราสามารถเข้าถึงได้ง่ายจากทุกที่ ทุกเวลา

* E-mail หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ผ่านระบบเครือข่าย

• Non - Technical Tools

* COP เป็นแหล่งกิจกรรมแลกเปลี่ยน แบ่งปัน และเรียนรู้ร่วมกันสำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เป็นการได้มิติความรู้ในเรื่องนั้นๆ จากสมาชิกทุกคนในกลุ่มออกมา

* Story telling เป็นการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จ

* Coffee meeting เป็นการเล่าเรื่องพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

* Mentoring/Coaching เป็นกิจกรรมที่มีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือแนะนำผู้ร่วมกิจกรรมในการฝึกหัดปฏิบัติ ในเรื่องหนึ่งๆ

* Training เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้ฝึกหัดปฏิบัติ

* On the job training เป็นการทำงานไป เรียนรู้ไป ทำความเข้าใจไป

* Reflective Conversation เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การสนทนามีความหมายและมีคุณค่าต่อกัน และสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน

 

สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

• ใจ สมอง ตา หู ปาก มือ                                                                           • แรงจูงใจ

• การสนับสนุนจากผู้บริหาร                                                                     • วัฒนธรรมองค์กร

• เทคโนโลยี                                                                                                  • การวัดผล

เทคนิคการเป็น Facilitator (คุณอำนวย)

• ฟังเป็น                                                                                                         • พูด/ถามเป็น

• คิดเป็น                                                                                                         • เข้าใจ เข้าถึง และจัดการกับสมาชิกได้

• บุคลิกดี น่าเชื่อถือ

เทคนิคการเป็น Historian (คุณลิขิต)

• ฟังเป็น                                                                                                         • จับประเด็นเป็น

• บันทึกย่อ ๆ สาระสำคัญ                                                                          • ใช้ Tools ช่วย เช่น Mind Map เป็นต้น

• เขียนเป็น                                                                                                     • จัดเนื้อหา (ขุมความรู้) ให้เป็นหมวดหมู่ และเป็นระบบ

 

ระดับการฟัง

• ไม่สนใจฟังผู้สนทนา (Ignoring) ไม่มี eye contact มีการถามซ้ำ คุยกันคนละเรื่อง

• ฟังแบบเสแสร้งฟัง (Pretending) มีการพยักหน้าผิดจังหวะ ถามกลับคุยกันคนละเรื่อง

• ฟังแบบเลือกสิ่งที่อยากฟัง (Selective listening) เลือกฟังเฉพาะที่ผู้ฟังต้องการได้รับข้อมูลข่าวสาร

• ฟังแบบตั้งอกตั้งใจฟัง (Attentive listening) เป็นการฟังโดยเอาตัวฟังเป็นที่ตั้ง มีการถามคำถาม ผู้ฟังมี การให้คำแนะนำคำปรึกษาโดยใช้ประสบการณ์ในการประเมินและตัดสิน

• ฟังแบบเข้าอกเข้าใจ (Empathic listening) เป็นการฟังที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยเอาตัวผู้เล่าเป็นที่ตั้ง มีการทวนสรุปใจความคำพูดและความรู้สึกของผู้เล่าด้วยถ้อยคำของผู้พูดเองก่อนเสมอ แล้วถามผู้เล่าว่าเราเข้าใจถูกต้องไหม แล้วจึงสนทนาต่อ หากเข้าใจไม่ถูกต้อง ขอให้ช่วยอธิบายหรือพูดใหม่ โดยผู้พูดต้องมีความปรารถนาดีอย่างจริงใจ การฟังแบบนี้ผู้เล่าจะสามารถประเมินและตัดสินได้ด้วยตัวเอ

 

อุปสรรคต่อการทำความเข้าใจหรือการฟัง

• การรับรู้                                                                                       • ภาษา

• ท่าทาง                                                                                          • ความสนใจส่วนตัว

• อารมณ์                                                                                        • น้ำเสียง

• สิ่งแวดล้อม-เสียง                                                                      • การคาดการณ์ไว้ก่อน

• พูดอย่างไร้ความหมาย                                                             • ความสนใจที่หลุดประเด็นออกไป

• อุปสรรคด้านการได้ยิน                                                            • ความเร็วในการคิด

 

การปรับปรุงทักษะในการฟัง

• กำจัดสิ่งที่ดึงความสนใจออก                                                                  • มีสมาธิในขณะนั้น

• ทุ่มความสนใจไปที่ผู้พูด                                                                                          • เปิดใจ

• มองหาความหมายจากสิ่งที่ไม่ได้เป็นคำพูด เช่น ภาษากาย น้ำเสียง             • ไม่ตอบสนองกับคำที่แสดงอารมณ์

• ถามคำถาม                                                                                                                  • นั่งทำให้สามารถเห็นและได้ยิน   

• หลีกเลี่ยงการตัดสินใจไว้ล่วงหน้า                                                                         • ถามเพื่อความกระจ่าง

• บันทึกย่อ (ใช้เทคนิค Mind Map จดบันทึกบนกระดาษ A4)

 

การพูดเป็น-ถามเป็น

• พูดเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย เหมาะกับผู้ฟัง โดยการจะประเมินลักษณะการพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟังนั้นควรศึกษาถึงพื้นฐานของผู้ฟัง อาจถามผู้ฟัง ตั้งใจฟัง และสังเกตลักษณะจากการเล่าเรื่อง ความสนใจของผู้ฟัง

• พูดเกริ่นเพื่อนำกลุ่ม

• พูดเพื่อคุมประเด็นและเวลา ขัดจังหวะอย่างนิ่มนวล

• พูดเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกัน บอกกติกาชัดเจน ความคาดหวัง

• พูดเพื่อสร้างความไว้วางใจ โน้มน้าวใจ เจรจาต่อรอง

 

. ใช้ชนิดของคำถามที่เหมาะสม (คำถามปิด-เปิด)

• พูดในสิ่งที่ตนอยากพูด หรือควรจะพูดในสิ่งที่คนอื่นอยากฟัง

 

การถามเพื่อค้นหาเรื่องที่ต้องการรู้

• กำหนดประเด็ฯที่เราต้องการรู้หรือปัญหาที่เรามีอยู่ให้ชัดเจน เช่น ความยากในการดำเนินการ หรือผล ลัพธ์ที่ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ

• การตั้งคำถาม เพื่อค้นหาว่ากระบวนการเป็นอย่างไร (How) ค้นหาบริบท (Why) ค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Success factors)

 

 

ตัวอย่างการใช้ประโยคเพื่อทำให้การสนทนามีประสิทธิภาพต่อเนื่อง ประโยคควรขึ้นต้นด้วย

ควรถามผู้เล่ากลับด้วย

 

·         "มีความคิดว่า..."

·       "มีความเชื่อว่า..."

·       "ข้อเท็จจริงคือ..."

·        "จากประสบการณ์บอกว่า..."

 

·        "ขอคำชี้แจงเพิ่มเติม"

·       "ขอข้อมูลเพิ่มเติม"

·       "ช่วยกรุณาเล่าประสบการณ์ให้ฟังด้วย"

·       "รู้สึกอย่างไรบ้าง"

·        "เชื่ออย่างไร (ขอคำอธิบายเพิ่มเติม)"

 

คิดเป็น

• คิดเชิงบวก คือ การมองโลกและเรื่องต่าง ๆ ในแง่ดี ( ดังเช่น การตนเองหรือองค์กร ต้องมองให้เห็นส่วนดีของตนเองหรือองค์กร มองเห็นส่วนที่จะพัฒนาในทางดีต่อไปได้เสมอ เห็นลู่ทางที่จะปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกและบุคคลอื่นรอบตัวได้อย่างราบรื่นเสมอ )

• คิดเชิงระบบ คือ การมองถึงภาพรวม วัตถุประสงค์ เหตุและผล โดยพิจารณาทุกๆ มิติ เข้าใจถึงความสลับ ซับซ้อนของความสัมพันธ์ในระบบโครงสร้าง การเชื่อมโยงกัน การสัมพันธ์กัน การปฏิสัมพันธ์กัน หรือการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของสิ่งต่าง ๆ ( ดังเช่น บุคลิกภาพ ความคิด และการกระทำของแต่ละคน จะมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันในสังคมหรือองค์กร ดังนั้นบุคลากรขององค์การเป็นเครื่องสะท้อนหรือตัวแทนให้บุคคลภายนอกหรือลูกค้าเห็นในตัวตนความเป็นองค์การ )

• คิดแบบสร้างสรรค์

• ประเมินและวิเคราะห์ความต้องการและวัฒนธรรมของกลุ่ม

 

      เข้าใจ เข้าถึง และจัดการกับสมาชิกได้

• จริงใจและเอื้ออาทร

• การให้เกียรติกับสมาชิกทุกคน

• มีไหวพริบในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้

 

บุคลิกภาพ

"บุคลิกภาพ (Personality) คือ สภาพทางกายและทางจิตของแต่ละบุคคล ที่ปรากฏผลรวมออกมาเป็นสภาพ และพฤติกรรมที่มีแบบแผนให้ผู้อื่นเห็น รู้ และเข้าใจ

ในสภานภาพปกติในช่วงชีวิตธรรมดาของผู้นั้น" ดร.สันทัด ศะศิวณิช  บุคลิกภาพที่ดีของบุคคลแต่ละคนขององค์กร เป็นปัจจัยก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในระหว่างบุคลากรขององค์การ และยังเป็นปัจจัยก่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลภายนอก รวมทั้งลูกค้าขององค์กร ทั้งยังเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นบุคลิกภาพขององค์การด้วย บุคลิกภาพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ บุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณสมบัติภายนอก และบุคลิกภาพส่วนที่เป็นคุณสมบัติภายใน

องค์ประกอบของบุคลิกภาพ

• รูปลักษณ์ทางกาย รวมทั้งอากัปกิริยาที่สามารถเห็นได้ด้วยตา มีความสำคัญมากต่อความรู้สึกยอมรับของผู้ อื่นว่ารักหรือเกลียด ชอบหรือชัง คบหรือไม่คบ เชื่อหรือไม่เชื่อ ถือเป็นปัจจัยที่กระทบความรู้สึกของผู้พบเห็นอันดับแรกและเร็วที่สุดโดยใช้เวลาเพียง 4 วินาที

• ภูมิปัญญา เป็นคุณสมบัติภายใน รวมถึง จิตสำนึก อุปนิสัย ความรู้ ความคิด สติปัญญา โดยในส่วนนี้มีความ สำคัญต่อบุคคลที่มีสถานะ ตำแหน่งหน้าที่ และวิชาชีพ ที่ต้องใช้สมอง ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีความสามารถ และศิลปะในการสื่อสารเพื่อให้ส่วนนี้เด่นขึ้นมา อย่างไรก็ตามคุณสมบัติในส่วนนี้สามารถจะพัฒนาเพิ่มเติมได้ตลอดเวลาไม่มีที่สิ้นสุด (การเป็นพหูสูตคือ เป็นคนรอบรู้ และต้องรู้อย่างสมบูรณ์ กระจ่างในทุกแง่มุมของวิชาชีพ หรือเรื่องที่ตนถนัด ไม่ทอดทิ้งให้ความรู้ของตนล้าหลังหรือหยุดนิ่ง)

• ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอย่างมาก

• การมีมรรยาท เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะมรรยาทเป็นกติกาของสังคมเป็นพื้นฐานของกฎหมายโดยทั่วไป

 

บุคลิกดี น่าเชื่อถือ

• ตรงต่อเวลา                                                                                 • แต่งกายเหมาะสม

• เชื่อมั่นในตนเอง                                                                       • ยิ้มแย้มแจ่มใส

• มีน้ำใจ                                                                                         • มีมรรยาท

 

            การรับข้อมูลข่าวสารของมนุษย์

ธรรมชาติของมนุษย์มีความสามารถในการรับข้อมูลข่าวสารเข้าสู่สมอง

• ผ่านประสาทตาถึง 87%

• ผ่านประสาทหูเพียง 9%

• ผ่านประสาทสัมผัสเพียง 4%

ดังนั้นการสื่อความหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้รับการสื่อสาร

• โดยใช้คำพูดหรือถ้อยคำ (Verbal) จะสื่อสารได้เพียง 7%

• โดยใช้การสร้างอารมณ์ของถ้อยคำด้วยน้ำเสียง (Vocal) จะสื่อสารได้ถึง 38% เช่น Speed (ความเร็ว)Pitch (ระดับเสียง) Tone (น้ำเสียงสูงต่ำ) Volume (ระดับความดังกังวาน)

• โดยใช้ นริพจน์ภาษา หรือ ภาษากาย (Visual หรือ Nonverbal Language) มาประกอบ จะสื่อสาร ได้ถึง 55% เช่น Eye Contact (การสบตา) Facial Expression (การแสดงออกทางสีหน้า) Body Language (ภาษากาย) Object Language (การยึดติดหรือการจองพื้นที่) Proximics (ระยะใกล้ไกล)

 

ที่มาข้อมูล

บูรชัย ศิริมหาสาคร. 2550. การทำ COP เพื่อจัดการความรู้ในองค์กร โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องความสำเร็จ (Storytelling). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา, นครปฐม. ประเทศไทย. 16 หน้า

ธวัชชัย หล่อวิจิตร. 2550. การจัดการความรู้ : ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : COP). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. 32 หน้า

เกศรา รักชาติ. 2550. Becoming Effective Change Leader to Create a Learning Organization. เอกสารประกอบ การอบรมสัมมนา, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. 123 หน้า

สันทัด ศะศิวณิช. 2550. การเสริมสร้างบุคลิกภาพและการสมาคม. หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก นรเศรษฐ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา, กรุงเทพมหานคร. ประเทศไทย. 89 หน้า

      "CommonKADS" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.commonkads.uva.nl/frameset-commonkads.html

     "What is an Ontology" [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www-ksl.stanford.edu/kst/what-is-an-ontology.html

 

โดย  นายวรพจน์ คุณาวิวัฒนางกูร

      นอต.ชก ส่วนพยากรณ์อากาศ

เรื่องการพยากรณ์อากาศ

  1. จุดประสงค์ การให้บริการด้านการพยากรณ์อากาศและแจ้งเตือนภัย ภารกิจหลักของ ศน.
  2. ความหมายของอุตุนิยมวิทยา
  3. องค์ประกอบของบรรยากาศ
  4. การแบ่งชั้นบรรยากาศ
  5. รังสีของดวงอาทิตย์
  6. เครื่องมือตรวจอากาศ สนามอุตุนิยมวิทยา
  7. ของสารประกอบ อุตุนิยมวิทยา ความหมาย และหน่วยวัด
  8. องค์ประกอบที่สำคัญของการพยากรณ์อากาศ 
  9. การพยากรณ์อากาศ แยกตาม  ระยะเวลาและการคาดหมาย
  10. การถอดรหัสข้อมูลอุตุนิยมวิทยา
  11. การวิเคราะห์แผนที่อากาศ การแปลความหมาย
  12. การตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก และมหาสมุทรอินเดียตอนบน
  13. การนำข้อมูลการพยากรณ์อากาศไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ
  14. เกณฑ์การพยากรณ์อากาศ
  15. ภูมิอากาศของประเทศไทย
  16. ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูร้อน เน้นด้าน ไฟป่า หมอกควัน สาเหตุการเกิด ลักษณะอากาศที่เอื้อต่อการเกิด การปฏิบัติตนในขณะที่เกิด การรณงค์ และการป้องกัน ยกตัวอย่างในปี 2550

 

 

          โดย  นางสันทนีย์ ไชยเชียงพิณ
          ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศ

 

 

การตรวจอากาศด้วยเรดาร์

 

ส่วนประกอบของเรดาร์

1. จานสายอากาศ (Antenna)

2. สวิตซ์เครื่องรับ-ส่ง (Transmit receive switch)

3. เครื่องส่ง (Transmitter)

4. เครื่องรับ (Receiver)

5. หน่วยประเมินผล (Processor)

6. จอแสดงภาพ (Display)

           

คำอธิบาย: คำอธิบาย: form_clip_image001_0001

ผังการทำงาน

 

หลักการทำงานของเครื่องเรดาร์

                1. เรดาร์จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาในรูป PULSE มีช่วงสั้นโดยออกจากเครื่องส่งไปยังจานสายอากาศเมื่อกระทบเป้าจะเกิดการสะท้อนกลับมายังจานสายอากาศเข้าสู่ภาค     เครื่องรับ

                2. ความแตกต่างระหว่างเวลาที่ส่งและรับของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อส่ง PULSE ออกไปกระทบเป้าสะท้อนกลับมาสามารถหาระยะห่างของเป้าโดยกำหนดให้                                            

                                    R  =  C ΔT / 2

                         เมื่อ     R  =  ระยะของเป้าจากจานสายอากาศ

                                  C   =  ความเร็วของแสงท่ากับ 300 ล้านเมตรต่อวินาที

                               Δ T  =  ความแตกต่างระหว่างเวลาที่ส่งและรับ

                3. สามารถหาความสูงของเป้าในแนวราบและแนวดิ่งของเป้าซึ่งได้จากการหมุนของจานสายอากาศ

หลักการทำงานของเครื่องเรดาร์

 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            เรดาร์ชนิดต่างๆ

                RADAR (เรดาร์) ย่อมาจากคำว่า “ RAdio Detection And Ranging ”

                หมายถึงการใช้คลื่นวิทยุในการค้นหาตำแหน่ง(ทั้งทิศทางและระยะทาง)ของสิ่งที่ต้องการค้นหาหรือที่เรียกว่าเป้า

                1. P - Band ความถี่ 225-390 MHz                  ความยาวคลื่น  133.3-76.9  cm.

                2. L - Band ความถี่ 390-1550  MHz                ความยาวคลื่น  76.9-19.3    cm.

                3. S - Band ความถี่ 1550-3900 MHz              ความยาวคลื่น  19.3-7.69   cm.

                4. C - Band ความถี่ 3900-6200 MHz              ความยาวคลื่น  7.69-4.84   cm.

                5. X - Band ความถี่ 6200-10900 MHz           ความยาวคลื่น  4.84-2.75   cm.

                6. K - Band ความถี่ 10900-36000 MHz         ความยาวคลื่น  2.75-0.834 cm.

                7. Q - Band ความถี่ 36000-46000 MHz        ความยาวคลื่น  0.834-0.652 cm.

                8. V - Band ความถี่ 46000-56000 MHz         ความยาวคลื่น  0.652-0.536  cm.

 

            เรดาร์ที่กรมอุตุนิมวิทยาใช้งานมี 3 แบบ ได้แก่

              X - Band  

•           ความถี่  6,200-109,000 MHz    ความยาวคลื่น 4.84-2.75 cm.

•           เหมาะในการตรวจวัดฝนกำลังอ่อน ถึง กำลังปานกลาง

•           สามารถตรวจวัดฝนกำลังปานกลาง ถึง หนัก ได้

•           มีการสูญเสียพลังงานเมื่อคลื่นเรดาร์กระทบเป้า

•           เป้าของฝนที่ตรวจได้จากจอเรดาร์ มีขนาดและรูปร่างผิดจากความเป็นจริง

•           รัศมีทำการ 100 กิโลเมตร และมีรัศมีหวังผล 60 กิโลเมตร

•          ราคาค่อนข้างถูก และค่าบำรุงรักษาน้อย         

C – Band

-          มีความถี่ 3,900 - 6,200 MHz  ความยาวคลื่น 7.69 - 4.84 cm. 

-          ขนาดกลางเหมาะในการตรวจวัดฝนกำลังปานกลาง – หนัก

-          มีการสูญเสียพลังงาน

-          มีรัศมีทำการ 450 กิโลเมตร และมีรัศมีหวังผล 230 กิโลเมตร

-          ราคาสูงกว่าเรดาร์แบบ X-Band

-          ค่าบำรุงรักษามากกว่าเรดาร์แบบ X-Band

 

S – Band   

-           มีความถี่ 1,550 - 3,900 MHz  ความยาวคลื่น 19.3 - 7.69 cm.

-          ขนาดใหญ่เหมาะในการตรวจวัดฝนกำลังหนัก ถึง หนักมาก

-          สามารถตรวจวัดผลกำลังอ่อน ถึง ปานกลางได้ด้วย 

-          การสูญเสียพลังงานน้อย  รูปร่างผิดจากความเป็นจริงไปบ้างเล็กน้อย

-          รัศมีทำการ 550 กิโลเมตร และมีรัศมีหวังผล 230 กิโลเมตร

-          ราคาและค่าบำรุงรักษาแพงกว่า แบบ X-Band และ C - Band

 

                การคำนวณหาความเข้มของฝน (ความสัมพันธ์ Z-R)

การแจกแจงของขนาดหยดฝนได้นำมาถึงสูตรง่าย ๆ เกี่ยวกับความเข้มของภาพสะท้อนและอัตราความเข้มของฝน ดังต่อไปนี้   Z = aRb   โดยค่า Z คือค่า Refectectivity      Factor และ มีค่าเท่ากับ D6และ R คืออัตราความเข้มของฝน โดยค่า a และ b เป็นค่าคงที่ โดยทั่วไปแล้วค่า มีหน่วย mm6 m-3และค่า R ในหน่วย mm/h  ขนาดของหยดฝน               และการแจกแจงของมันในแต่ละหนึ่งหน่วยปริมาตรแตกต่างกันมากมายไม่ว่าในชนิดของฝนชนิดเดียวกันและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝนที่ต่างชนิดกัน ดังนั้นค่าคงที่ a และ b       ก็จะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด Battan (1973) ได้ยกเอาความสัมพันธ์กว่า 70 ความสัมพันธ์มาแสดงให้ดู โดยค่าทั่ว ๆ ไปมีดังต่อไปนี้

                สำหรับฝนตามชายเขาหรือฝนละออง : Z = 31 R17.1

                สำหรับฝนที่เกิดจากเมฆชนิดแผ่น : Z = 200 R1.6     (Marshall & Palmmer ,1948)

                สำหรับฝนจากพายุฝนฟ้าคะนอง : Z = 350 R1.4           

         

                โดยทั่วไปแล้วค่าคงที่ a จะมีค่าเพิ่มขึ้นในขณะที่ค่าคงที่ b มีค่าลดลง ถ้าค่าความเข้มของฝนเพิ่มขึ้น

            การเลือกใช้ค่าคงที่เหมาะสมจึงเป็นปัญหาที่สำคัญในการวัดค่าปริมาณฝนจากเรดาร์ นอกจาผู้ใช้ข้อมูลเรดาร์จะทราบค่าความสัมพันธ์จากประสบการณ์ของตัวเองแล้ว ใน   เขตอบอุ่นมักจะใช้ค่า Z =200R1.6 สำหรับฝนทุกชนิดถึงแม้ว่าความสัมพันธ์นี้อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับฝนที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้

ค่าความแรงที่ได้จากการสะท้อนของเป้า

dBz

คำอธิบาย

-30

หมอกบางมาก (ขนาดของเม็ดน้ำเล็กมาก ไม่มีฝน)

20

ฝนกำลังอ่อนที่สุด (เกือบจะไม่สามารถตรวจพบฝนตก )

30

ฝนกำลังอ่อน    (ความแรงของฝนประมาณ 3 มม./ชม.)

40

ฝนกำลังปานกลาง        (ความแรงของฝนประมาณ 12 มม./ชม.)

50

ฝนกำลังแรง     ( ความแรงของฝนประมาณ 50 มม./ชม.)

55

ฝนกำลังแรงมาก (ความแรงของฝนประมาณ 100 มม./ชม.)

>55

ลูกเห็บหรือน้ำแข็ง

75

ลูกเห็บหนักมากและมีจำนวนมากขนาดใหญ่

 

            การตรวจอากาศด้วยเรดาร์

                เรดาร์ตรวจอากาศมี  2  MODE

1.PRECIPITATION MODE  เป็น MODE ที่เรดาร์ใช้ตรวจอากาศแบบที่มีฝนตก  การตรวจใน MODE นี้ จะทำการตรวจตั้งแต่ +5 dBZ จนถึง +75 dBZ

                -  VCP-11 ---scan strategy #1 version 1 Accomplish 14 elevation angles in 5 minutes (14/5) เป็นการตรวจแบบ VolummScan ชนิดหนึ่งใช้ตรวจเมฆที่ก่อตัวทางแนวตั้ง

-  VCP-21 ---scan strategy #2 version 1 Accomplish 9 elevation angles in 6 minutes (9/6) เป็นการตรวจแบบ VolummScan ชนิดหนึ่งใช้ตรวจเมฆที่ก่อตัวทางแนวนอน

 

2.CLEAR AIR MODE  เป็น MODE ที่เรดาร์ใช้ตรวจอากาศแบบ CLEAR AIR เพื่อใช้ในการตรวจผงฝุ่น  SENTIVITY สูงกว่า PRECIPITATION MODE และ MODE นี้จะทำการตรวจตั้งแต่ -28 dBZ จนถึง +28 dBZ

-         VCP-31 ---scan strategy #3 version 1 Accomplish 5 elevation angles in 10 minutes (5/10) เป็นการตรวจแบบ Composite Reflectivity ในรูปแบบของ Clear air Mode แบบ Long Pulsed

 

-           VCP-32 ---scan strategy #3 version 2 The same to VCP31, while the pulse in VCP31 is longer than it in VCP32 WSR-98D undefined VCP-32.เป็นการตรวจแบบ Composite Reflectivity ในรูปแบบของ Clear air Mode แบบ Short Pulsed

 

          ปัญหาเกี่ยวกับความแม่นยำจากการตรวจวัดปริมาณฝนด้วยเรดาร์

-           ปัญหาที่เกิดจากส่วนโค้งของโลก  และคลื่นรบกวน  หรือสิ่งกีดขวาง  ทำให้เกิดจุดอับสัญญาณ  ควรเลือกใช้ผลการตรวจของสถานีเรดาร์ที่ไม่มีผลกระทบ

-           ปัญหาการแสดงผลเป็นเป้าเดียว  กลุ่มฝนที่ปรากฏในธรรมชาติมักจะมีหลายกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มจะอยู่ห่างกันมากน้อยเท่าใดนั้นผู้ที่ใช้เรดาร์ตรวจอากาศไม่ว่าจะเป็นนักอุตุนิยมวิทยาหรือเจ้าหน้าที่เรดาร์ตรวจอากาศต้องคำนึงถึง PULSE  WIDTH เป็นหลัก เนื่องจากหลักการการแยกเป้าจะใช้ค่า PULSE  WIDTH คูณ ค่าคงที่  ( 492 ฟุต หรือ 147.60 ม. )  เช่น ค่า PULSE  WIDTH  = 1 MICROSECOND   ดังนั้นเป้าที่แยกได้นั่นคือ ถ้ามีเป้าอยู่ห่างกัน    มากกว่า 492 ฟุต จะเกิดการแยกเป้าขึ้น    บนจอเรดาร์ฯ แต่ถ้าเป้าอยู่ห่างกันน้อยกว่า 492 ฟุต จะเกิดการรวมกันเป็นเป้าเดียว

            ประโยชน์ของการตรวจอากาศด้วยเรดาร์

เรดาร์มีประโยชน์มากในกิจการอุตุนิยมวิทยาเพราะเรดาร์สามารถตรวจจับและรายงานผลการตรวจในขณะที่ปรากฏการณ์ต่างๆกำลังเกิดขึ้นจริง (Real Time Observation) ในบริเวณที่ห่างออกไปจากสถานีเรดาร์หลายร้อยกิโลเมตร ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาปกติและด้วยการนำเอาวิทยาการอันทันสมัยของคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับเครื่องเรดาร์ ก็ยิ่งทำให้เพิ่มความรวดเร็วในการทำงานของเรดาร์ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามสามารถจำแนกประโยชน์ของเรดาร์ได้ดังนี้


1. ใช้ตรวจจับหาบริเวณที่มีฝนหรือฝนฟ้าคะนอง รวมทั้งรายงานความแรงทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนนั้นๆด้วย
2. ใช้ตรวจและติดตามการเคลื่อนตัว รวมทั้งหาศูนย์กลางของพายุหมุน เช่น พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น เป็นต้น
3. ใช้ตรวจหิมะ ลูกเห็บ เมฆ
4. ช่วยในการพยากรณ์อากาศระยะสั้น
5. ใช้วิเคราะห์ทิศทางและความเร็วลมชั้นบนในระดับต่างๆ
6. ช่วยในการเตือนภัยและเตรียมการป้องกันน้ำท่วม

 

เวบไซต์ของเรดาร์ตรวจอากาศในประเทศไทย

u http://www2.tmd.go.th/radar/

u http://www.cmmet.tmd.go.th  เลือก เมนู เรดาร์ตรวจอากาศ

u http://www2.radargis.tmd.go.th/project/index.php

 

โดย  นายสราวุธ ยงค์พิทักษ์วัฒนา

พอต.ชง.

 

ส่วนสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา

หน้าที่และความรับผิดชอบ

1. จัดทำแผนที่อากาศประจำวัน

2.  บันทึกจัดเก็บข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ของพื้นที่รับผิดชอบในเขตภาคเหนือ

3. ให้บริการสถิติข้อมูลอุตุนิยมวิทยาแก่ประชาชนทั่วไป

 

แผนผังแสดงขั้นตอนและระยะเวลามาตรฐานการให้บริการ

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ

 

                                -ประชาชนผู้ยื่นคำขอ

                                -รับเรื่อง/เสนอผู้ที่เกี่ยวข้อง

                     -จัดเตรียมและสรุปข้อมูลอุตุนิยมวิทยา

                     -จัดพิมพ์ / ตรวจสอบ

                     -เสนอ ผอ.ศน.พิจารณาลงนาม

                     -จ่ายเรื่องคืนผู้ยื่นคำขอ

 

                กรณีข้อมูลที่ต้องรับรองข้อมูล                                                                 

 

                สรุป                        1.  ช่วงยื่นคำขอ                                                                                      

                                     -  ขั้นตอน  1  จุดบริการ  รวมระยะเวลา  20  นาที                                            

2.  ช่วงดำเนินการจนแล้วเสร็จ (รวมระยะเวลาช่วงยื่นคำขอด้วย)   

    - 5  ขั้นตอน  1  วัน 

 

          กรณีข้อมูลที่ไม่ต้องรับรองข้อมูล   

                    1.รับด้วยตัวเอง

                       -เอกสาร    

                       -หน่วยบันทึกความจำสำรอง เช่น  แผ่นซีดี, แฟล๊ตไดร๊ฟท์ 

    2.เว็ปไซต์ศูนย์อุตุนิยมวิทยา  www.cmmet.tmd.go.th

    3.E-mail:pt@metnet.tmd.

    4.โทรศัพท์  0-5320-3802

 

 

 

โดย  นายพิสิษฐ์  พวงสุวรรณ

พอต.ชง.

 

การตรวจวัดแผ่นดินไหว

 

 

นายอดิศร   ฟุ้งขจร

ผอ.สอต.เชียงใหม่