กิจกรรม 5 ส
1. เนื้อหา
1.1 ความหมาย
5ส เป็นกิจกรรมคุณภาพพื้นฐานเพื่อเพิ่มผลผลิตของหน่วยงาน โดยช่วยให้งานมีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างเสมอต้นเสมอปลาย และยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น น่าอยู่น่าอาศัย ตลอดจนช่วยให้พนักงานมีจิตสำนึกในการทำงานที่มีระเบียบเรียบร้อย รักที่ทำงาน มีความร่วมมือในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้บรรยากาศการทำงานดีขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์
2.1) วัตถุและสถานที่ (สะสาง สะดวก สะอาด)
ปรับปรุงสภาพแวดล้อม อุปกรณ์ ของใช้ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ทันสมัย และปลอดภัย ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานให้สดใส น่าทำงาน
2.2) คน (สุขลักษณะ สร้างนิสัย)
ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาคุณภาพการทำงานให้มีมาตรฐานสูงขึ้น มีจิตสำนึกที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น
1.3 องค์ประกอบและความหมายของ 5 ส
3.1) ส 1 สะสาง คือ การแยกของที่จำเป็นออกจากของไม่จำเป็น ของไม่จำเป็นขจัดออกไป
3.2) ส 2 สะดวก คือ ของทุกชิ้นต้องมีที่อยู่ และอยู่ในที่ของมัน
3.3) ส 3 สะอาด คือ ปัดกวาดเช็ดถูบริเวณโดยรอบ ทำอย่างสม่ำเสมอ มุ่งเน้น บำรุงรักษา เครื่องใช้ อุปกรณ์ต่างๆ ให้ใช้งานได้ตลอดเวลา
3.4) ส 4 สุขลักษณะ คือ การทำสถานที่ทำงานให้น่าอยู่น่าอาศัย มีสภาพแวดล้อม
ถูกสุขลักษณะอนามัย สุขกาย สุขใจ
3.5) ส 5 สร้างนิสัย คือ ทำวงรอบ 4ส ให้เป็นนิสัย ตามมาตรฐาน 5ส ที่กำหนดไว้ ตามกฎ
ระเบียบ กติกา
1.4 ผลที่ได้จากการทำกิจกรรม 5ส
4.1) เพิ่มพื้นที่การทำงานให้มากขึ้น (สะสาง)
4.2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (สะสาง สะดวก สะอาด)
4.3) เพิ่มความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ทำงาน (สะดวก สะอาด)
4.4) เพิ่มความปลอดภัยในที่ทำงาน (สะสาง สะดวก สะอาด)
4.5) ลดอัตราการเสียของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ยืดอายุการใช้งาน (สะอาด)
4.6) ลดอัตราการเสียจากขบวนการการผลิต (สะอาด)
4.7) ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียต่างๆ (สะอาด)
4.8) เพิ่มความเชื่อถือจากลูกค้าของเรา (5ส)
4.9) พนักงานมีความรักและผูกพันกับหน่วยงานมากขึ้น (5ส)
4.10) ปลูกฝังนิสัยที่มีระเบียบวินัย รักความสะอาด แก่พนักงาน ช่วยเสริมสร้างสังคมของชาติให้มีระเบียบวินัย มีคุณภาพดี (สร้างนิสัย)
1.5 ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส
5.1) ประกาศเป็นนโยบายของหน่วยงาน
5.2) ให้การศึกษา อบรม ดูงานแก่พนักงานทุกคน 100%
5.3) จัดตั้งคณะกรรมการ 5ส จัดทำแผนงาน ตั้งคณะกรรมการประเมินผล
5.4) ติดตั้งโปสเตอร์รณรงค์ (เชิญชวนและจูงใจ)
5.5) จัดแบ่งและทำผังพื้นที่รับผิดชอบ
5.6) ถ่ายภาพก่อนทำ (ทุกซอกทุกมุม ถ่ายแบบไม่มีคนอยู่)
5.7) จัดงานวันทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) พร้อมถ่ายภาพกำลังทำ (ถ่ายแบบมีคนกำลังทำ)
5.8) สำรวจพื้นที่รับผิดชอบ ตั้งหัวข้อการปรับปรุง
5.9) ตรวจ ประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข
5.10) จัดทำมาตรฐาน 5ส
5.11) ผู้บริหารตรวจพื้นที่เสมอ
5.12) ถ่ายรูปหลังทำ (ถ่ายแบบมีคนอยู่)
5.13) รายงานผลการดำเนินกิจกรรม
5.14) ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
5.15) ประกวดพื้นที่
5.16) การวัดผล ให้รางวัล
1.6 รายละเอียดการทำกิจกรรม 5 ส
1.6.1) การทำ ส1 สะสาง
- หมายถึง การแยกของที่จำเป็นออกจากของไม่จำเป็น ของที่ไม่จำเป็นให้ขจัดออกไป
- การสะสาง ให้พิจารณาดังนี้
ของไม่ต้องการ ไม่มีค่า ให้ทิ้งไปเลย
ของไม่ต้องการ แต่มีค่า ขาย/บริจาคโดยทำให้ถูกขั้นตอน
ของที่จะเก็บหรือของที่ใช้ เก็บแบบมีป้ายบอก
ของส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับงาน เก็บกลับบ้าน / บริจาค
ของหน่วยงานที่ไม่ได้ใช้เกินความจำเป็น ส่งคืนพัสดุหน่วยจัดเก็บ
- ขั้นตอนการสะสาง
(1) สำรวจ - สิ่งของในบริเวณที่รับผิดชอบ
(2) แยก - ของที่ไม่ต้องการออกจากของที่ต้องการ
(3) ขจัด - ของไม่ต้องการหรือมากเกินความจำเป็นออกไป
(4) ผู้รับผิดชอบสูงสุด หรือผู้มีอำนาจตัดสินใจต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนทิ้
(5) เหลือเฉพาะของที่จำเป็นเท่านั้น
- อะไรบ้างที่ควรสะสาง
(1) เครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่เคยนำออกมาใช้ วางเกะกะไปทั่ว ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ใช้พื้นที่ไม่คุ้มค่า
(2) สิ่งของส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน มีมากเกินไป ไม่เหมาะสม ให้นำกลับบ้านหรือบริจาค
(3) เครื่องจักรที่ชำรุด ไม่มีกำหนดซ่อม ถ้าสภาพใช้ไม่ได้ให้จำหน่าย ถ้ายังใช้ได้ให้ซ่อม
(4) วัตถุดิบที่มีปัญหาเก็บไว้นาน ให้ทำตามขั้นตอนโดยด่วน เก็บไว้จะเสียภาพพจน์
(5) เอกสารที่ไม่ใช้แล้ว หมดอายุการจัดเก็บ ซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นทุกวัน
(6) ของที่มีมากเกินความจำเป็น สูญเสียงบประมาณ ต้นทุนสูง สูญเสียเชิง
คุณภาพ
(7) ขยะ เศษวัสดุ เศษเหล็ก เศษไม้ เศษพลาสติกและอื่น ๆ
- การสะสางให้สะสาง 6 ทิศทาง คือ
(1) พื้น
(2) เพดาน
(3) ผนังด้านหน้า
(4) ผนังด้านหลัง
(5) ผนังด้านซ้าย
(6) ผนังด้านขวา
- เทคนิคการทำสะสาง
(1) นำของที่อยู่ในตู้หรือชั้นวางของออกมาให้หมดก่อน แล้วทำความสะอาดตู้และชั้นวางของ
(2) คัดแยกของที่จำเป็นเท่านั้นและไม่จำเป็นออกจากกัน
(3) อย่ารักพี่เสียดายน้อง
- ผลที่ได้จากการสะสาง
(1) ขจัดความสิ้นเปลืองของทรัพยากร เช่น คน งบประมาณ วัตถุดิบ ฯลฯ
(2) ลดปริมาณวัสดุคงคลัง มีเฉพาเท่าที่จำเป็น
(3) พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น
(4) ชั้นวางของมีที่วางเพิ่มขึ้น
(5) สถานที่ทำงานน่าอยู่ โล่ง สะอาดหู สะอาดตา
(6) ลดเวลาการเช็คสต๊อค
(7) มีเงินจากการขายของเก่า
(8) ลดการเก็บเอกสารซ้ำซ้อน
(9) ขจัดความผิดพลาดในการทำงาน ปลอดภัย
(10) สภาพแวดล้อมการทำงานดีขึ้น
1.6.2) การทำ ส2 สะดวก
- หลักการ ของทุกสิ่งต้องมีที่อยู่และต้องอยู่ในที่ของมัน
- ขั้นตอนการทำ ส สะดวก
(1) จัดวางสิ่งของให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
(2) ขีดสีตีเส้น
(3) เขียนป้ายชื่อบอกสิ่งของและที่อยู่
(4) เขียนแผนที่บอกสิ่งของว่ามีอะไรอยู่
- เทคนิคการจัดวางของ
(1) ของหนัก ไว้ข้างล่าง
(2) ของเบา ไว้ข้างบน
(3) ของทรงสูง ไว้ด้านใน
(4) ของทรงต่ำ ไว้ด้านนอก
(5) ของใช้บ่อย ไว้ใกล้ตัว
(6) ของนานๆใช้ที ไว้ไกลตัว
(7) อุปกรณ์แหลม มีคม หาภาชนะใส่
(8) ของไวไฟ วางไว้มิดชิด มีกุญแจใส่ มีคนดูแลประจำ
- ความปลอดภัยในการหยิบใช้
(1) วางของบนพื้นต้องมีที่รองที่เหมาะสม เพื่อสะดวกในการขนย้าย ทำความสะอาด หรือเวลาเกิดปัญหา เช่น ไฟไหม้
(2) ถ้าวางของซ้อนกันสูงๆ ต้องไม่สูงเกินทำให้ของที่อยู่ตอนล่างชำรุด บุบ บวม หรือมองแล้วเอียงอาจล้มเป็นอันตรายได้
(3) ไม่วางล้ำเส้น หรือทางเดิน ที่ขีดเส้นแบ่งกำหนดไว้
- ต้องทำให้การค้นหาเป็นศูนย์
(1) จัดระบบการวางของ ระบุตำแหน่งที่วางเด่นชัด
(2) เมื่อนำมาใช้แล้วต้องเก็บเข้าที่เดิม
(3) เมื่อของไม่อยู่ในที่ของมัน ต้องสามารถระบุผู้นำไปใช้ ที่ไหน เมื่อไหร่ได้
(4) ของแต่ละชิ้นจะต้องมีหมายเลขหรือรหัสบอก รู้ตำแหน่งที่อยู่ชัดเจน
(5) อย่าใส่ของเล็กๆ ลงไปในของใหญ่ๆ จะหยิบใช้ยาก เสียเวลา
(6) ตู้แบบทึบ ควรมีรายละเอียดบอกอยู่หน้าตู้
(7) มีแผนผังแสดงที่วางของต่างๆ
(8) ใช้ระบบ FIFO เพื่อคุณภาพ คือ First in : First out ของอะไรมาก่อนต้องนำไปใช้ก่อน ไม่เก็บไว้นานกว่าของที่มาทีหลัง เพื่อคุณภาพสิ่งของให้ได้ประโยชน์สูงสุด
- หลักการใช้สีทำสะดวก
สีแดง ใช้สำหรับ อันตราย ไฟ ระเบิด หยุด อุปกรณ์ดับเพลิง ไวไฟ
เครื่องกีดขวาง การก่อสร้าง
สีเหลือง ใช้สำหรับการเตือนว่ามีอันตราย การลื่น หกล้ม กระแทก กระตุ้น
ความสนใจ ราวจับมือรั้วกั้น อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ในโรงงาน
สีเขียว ใช้สำหรับ ความปลอดภัย เครื่องมือปฐมพยาบาล บริเวณที่
ปลอดภัย
สีส้ม ใช้สำหรับส่วนของเครื่องจักรที่เป็นอันตราย หมุนได้ เคลื่อนที่ได้
สีดำ แดง ขาว ใช้สำหรับ การจราจร
สีม่วง ใช้สำหรับ รังสีอันตราย
สีฟ้า เตือนการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน (หู ตา การหายใจ)
- การทำ ส2 สะดวก ให้ทำทั้ง 6 ทิศทาง คือ
(1) พื้น
(2) เพดาน
(3) ผนังด้านหน้า
(4) ผนังด้านหลัง
(5) ผนังด้านซ้าย
(6) ผนังด้านขวา
- ผลที่ได้จากการทำ ส2 สะดวก
(1) ลดเวลาค้นหา
(2) ตรวจสอบง่าย (หายรู้ ดูงามตา)
(3) เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
(4) มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น ขณะทำงาน
- การจัดของให้เป็นหมวดหมู่ เป็นที่เป็นทาง อย่างเป็นระเบียบ โดยคำนึงถึง คุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
1.6.3) การทำ ส3 สะอาด
- ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นยอดความปรารถนาของทุกสถานที่
- ส สะอาด มุ่งเน้น การบำรุงดูแลรักษา มากกว่า การปัดกวาดเช็ดถู เท่านั้น
(1) เป็นการทำงานในที่สะอาด
(2) เป็นหลักประกันคุณภาพสินค้า
(3) ช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ไม่สายเกินแก้ ไม่แย่เกินซ่อม
- จุดที่ควรทำความสะอาด
(1) พื้น เพดาน มุมห้องมุมเพดาน
(2) ด้านบนโต๊ะทำงาน หลังตู้ทุกชนิด ชั้นวางของ ลิ้นชัก
(3) เครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ
(4) หลอดไฟ ฝนครอบหลอดไฟ
(5) ทุก ๆ อย่างรอบตัวเรา
(6) ห้องน้ำห้องส้วม
(7) ห้องรับแขก ห้องกาแฟ
(8) ภายนอกภายในอาคาร สนาม ลานจอดรถ โรงอาหาร ถนน
(9) ท่อระบายน้ำ
- ความสะอาด ต้องทำทั้ง 6 ทิศทาง คือ
(1) พื้น
(2) เพดาน
(3) ผนังด้านหน้า
(4) ผนังด้านหลัง
(5) ผนังด้านซ้าย
(6) ผนังด้านขวา
- สะอาด ทำได้โดย
(1) ก่อน หลังปฎิบัติงาน 5 นาที
(2) มอบหมายความเป็นเจ้าของ เครื่องมือเครื่องจักรทุกชนิด
(3) ร่วมกันทำความสะอาดและตรวจสอบร่วมกัน
(4) กำหนดทำความสะอาดครั้งใหญ่ เป็นประเพณี ทุก ๆ 3 เดือน 6 เดือน
1.6.4) การทำ ส4 สุขลักษณะ
- เพื่อรักษามาตรฐาน และปรับปรุงให้ดีขึ้น
- คือ การดูแลสถานที่ทำงานให้ มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีบรรยากาศน่าทำงาน เพื่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของทุกคน
- สุขลักษณะที่ดี
(1) ปราศจากมลภาวะ เช่น ฝุ่นละออง เชื้อโรค กลิ่น สารเคมี ฯลฯ
(2) สถานที่มีแสงสว่างอย่างเหมาะสม การระบายอากาศดี
(3) ปลอดอุบัติเหตุ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร อัคคีภัย บาดเจ็บ หกล้ม ฯลฯ
(4) สถานที่น่าทำงาน น่าอยู่ น่าอาศัย มีสมาธิ
- การปฏิบัติให้มีสุขลักษณะที่ดี
(1) สภาพและบรรยากาศที่ทำงาน
1.1 ปรับแต่งให้มีระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา มีแสงสว่าง เพียงพอ ดูแล้วสบายใจ น่าทำงาน ร่มรื่น
1.2 ทุกคนช่วยกัน
1.3 ไม่ทำให้ห้องทำงานเป็นห้องครัวหรือห้องอาหาร
1.4 ไม่ดูดายต่อต้นเหตุแหล่งเพาะเชื้อโรค
1.5 ปรับอุณหภูมิห้องให้พอเหมาะ ไม่อึดอัด
(2) มลภาวะ
2.1 หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องถ่ายเอกสาร ควรแยกออกจากห้องทำงาน มีระบบถ่ายเทอากาศ
2.2 ไม่จุดธูปเทียน พ่นสี ทาสี ฉีดเสปรย์ผม
2.3 ไม่พูดเสียงดังจนรำคาญ หรือเสียงเครื่องจักรดังเกินไป เว้นแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ เช่น โรงงาน
- ผลที่ได้จากการทำ สุขลักษณะ
(1) ที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมดีขึ้น ปราศจากมลภาวะ มีบรรยากาศร่มรื่น น่าทำงาน
(2) พนักงานทำงานด้วยความปลอดภัย มีความสุขกายสุขใจ และมีสุขภาพจิตที่ดี มีสมาธิในการทำงาน
1.6.5) ส5 การสร้างนิสัย
- ปลูกสร้างนิสัยเพื่อสร้างสังคมที่มีระเบียบวินัยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อคุณภาพชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น โดยทำ ส1-ส4 ให้ดีขึ้นตลอดไป
2. ข้อสรุป
- ศน. กำหนดกิจกรรม 5ส เป็นระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบริหารจัดการตามแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงาน ตัวชี้วัดที่ 5.2 จำนวนหน่วยงานที่ได้ปรับปรุงสถานที่ทำงานตามโครงการ 5ส
- ศน. มีการประกาศนโยบาย 5ส แล้วแจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
- ศน. ได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรม 5ส จำนวน 2 ชุด คือ คำสั่งที่ 2/2555 ลงวันที่ 6 ก.พ. 55 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินกิจกรรม 5ส และ คำสั่งที่ 3/2555 ลงวันที่ 6 ก.พ. 55 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการตามกิจกรรม 5ส
- ศน. ได้จัดอบรมความรู้กิจกรรม 5ส ให้แก่บุคลากรในหน่วยงาน 100% แล้ว ในวันที่ 28 มีนาคม 2555 เวลา 13.00 - 16.00 น.
- ศน. กำหนดจัดงานวันทำความสะอาดครั้งใหญ่ (Big Cleaning Day) เพื่อทำ ส1:สะสาง และ ส3:สะอาด ในวันที่ 29 มีนาคม 2555 เวลา 09.00 16.00 น.
พรนภา ทองเทพ
นอต.ชก.
ผู้เขียนรายงาน
2 เมษายน 2555 |